top of page

มะนาวลดคอเลสเตอรอลป้องกันโรคหลอดเลือด





การแพทย์แผนจีน ใช้มะนาวแห้งเป็นตัวยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดมานานแล้ว


สาธารณรัฐประชาชนจีน งานวิจัยพบว่า นาริงจิน และเฮสเพอริดินซึ่งเป็นฟลาโวนอยด์ส้มมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของยีนอะดีโพเนกทิน (adiponectin) ซึ่งเป็นยีนสำคัญในเมตาบอลิซึมของกลูโคสและไขมันที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลัคอุดตันของหลอดเลือดและกระบวนการอักเสบ ผลการศึกษากล่าวว่าฟลาโวนอยด์ส้มทั้ง 2 ชนิดแสดงผลต้านการเกิดพลัคโดยกระตุ้น perovisome proliferator-activated receptor (PPAR) และยีนอะดีโพเนกทินในเซลล์ไขมันอะดีโพไซต์


อิตาลี ศึกษาจากสัตว์ทดลองในหนู พบว่าเมื่อให้สารเฮสเพอริดินซึ่งเป็นฟลาโวนอยด์หลักจากเปลือกในพืชตระกูลส้มกับหนูไขมันสูง มีผลเพิ่มไขมันที่ดี (เอชดีแอล-คอเลสเตอรอล) ลดไขมันไม่ดี (แอลดีแอล-คอเลสเตอรอล) ลดปริมาณไขมันรวมและไตรกลีเซอไรด์ ในหนูดังกล่าว และมีผลลดความดันเลือดและขับปัสสาวะในหนูความดันสูง


สหรัฐอเมริกา งานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า ฟลาโวนอยด์ส้มสองกลุ่ม ได้แก่กลุ่มเฮสเพอริดิน และกลุ่มโพลีเมททอกซิเลตฟลาโวน (PMFs) มีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในพลาสม่าของสัตว์ทดลอง ซึ่งสนับสนุนผลของงานวิจัยในหนูถีบจักรของแคนาดา


แคนาดา การทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า ฤทธิ์ดังกล่าวของฟลาโวนอยด์ส้มเกิดจากผลการกระตุ้นการทำงานของยีนรีเซปเตอร์ไขมันไม่ดี (แอลดีแอล) ในตับ ณ ตำแหน่งที่ควบคุมโดยสเตอรอล (sterol regulatory element, SRE)


นอกจากนี้ สารทั้งสองยังมีฤทธิ์เอสโทรเจนอย่างอ่อน มีผลต่อการสร้างไนตริกออกไซด์ในเซลล์ผนังหลอดเลือดผ่านการกระตุ้นรีเซปเตอร์ของเอสโทรเจน จึงมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นเหตุให้สนับสนุนการกินมะนาว และฟลาโวนอยด์ส้มเพื่อลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงวัยทอง


อิหร่าน งานวิจัยพบว่า น้ำมะนาวเข้มข้น (concentrated lime juice, CLJ) มีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์โมโนนิวเคลียร์ในระบบภูมิคุ้มกัน และโปรตีนในน้ำมะนาวเข้มข้นมีฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง

การศึกษาในห้องทดลองในมลรัฐเท็กซัสและแคลิฟอเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ส้มมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นพอประมาณ แต่ต่ำกว่าฟลาโวนอยด์ในพืชตระกูลขิง


มีบทความทางการแพทย์กล่าวว่า ฟลาโวนอยด์ส้มยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ปอด ช่องปาก กระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านมจากการทดลองในห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลองหลายชนิด แต่ยังไม่พบผลการศึกษาทางคลินิก


ที่มา : https://fruitsfit45.wixsite.com/fruitsfit/blog

10 views0 comments
bottom of page